คำพูดต้องห้ามที่ไม่ควรให้คนเป็นโรคซึมเศร้า

คำพูดต้องห้ามที่ไม่ควรให้คนเป็นโรคซึมเศร้า

ในสถานการณ์ปกติที่คนเราได้มาเห็นใครที่มีท่าทางซึมเศร้า ผิดหวัง หรือเสียใจก็มักจะต้องหาวิธีเข้าไปปลอบใจสารพัดซึ่งเพียงไม่นานเขาก็หายแล้ว แต่สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น การจะทำให้เขาหายจากอาการซึมเศร้าที่เป็นเรื้อรังมาได้ก็ย่อมยากเพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสารเคมีในสมอง

มุมมองของคนเป็นโรคซึมเศร้าจึงมักจะมองทุกอย่างที่ห่างไกลไม่เบี่ยงเบนมาทางตัวเขาโดยตรงเป็นแง่ลบและดาวน์มากขึ้น การใช้คำพูดสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนควรรู้ว่ามีคำพูดใดที่เป็นคำพูดต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง เพราะจะได้หาคำพูดอื่นช่วยให้เขาบรรเทาความเศร้าลงได้ ไม่ใช่ใช้คำพูดในแบบของคุณแล้วไปซ้ำเติมเขาอีก

“สู้ ๆ” คำพูดต้องห้ามใช้สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า

แม้คำว่า “สู้ ๆ” จะเป็นหนึ่งในคำพูดให้กำลังใจยอดฮิตสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่มันกลับไม่ใช่สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า เพราะนั่นหมายความว่าคุณไม่ได้จะให้กำลังใจเขาในการฝ่าฟันกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้เขาซึมเศร้าอยู่สักนิด แต่มันเป็นการกระตุ้นให้เขาพยายามกับมันมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้พวกเขาก็ได้ตั้งใจและพยายามกับมันจนสุดกำลังจนเหนื่อยล้าชีวิตตัวเองเหลือเกิน เขาอดทนมามากแล้วมันยังไม่พออีกหรือ? ฉะนั้นคำพูดที่ถูกต้องก็คือ “เป็นกำลังให้นะ” ,“สักวันเรื่องร้าย ๆ มันก็จะผ่านไป” ,“เรายังอยู่ตรงนี้กับเธอ”

“คนอื่นเจออะไรเยอะกว่าเธออีก” คำพูดต้องห้ามใช้สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า

“คนอื่นเจออะไรเยอะกว่าเธออีก” เป็นคำพูดที่คนปกติหากได้ยินมักจะมีกำลังใจในการฮึดสู้เพิ่มมากขึ้น ด้วยตามธรรมชาติของคนจะมองว่าเราเหนื่อยมากแล้ว แต่อย่างน้อยก็ไม่ได้ท้อและชีวิตเจอมรสุมมากเท่ากับอีกหลายคน แค่นี้ทำไมจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้ พวกเขายังอดทนมาจนถึงตอนนี้ได้เลย เราก็ต้องสู้กับมันจนกว่าจะชนะสิ แต่สำหรับคำพูดนี้กลับเป็นคำพูดต้องห้ามใช้สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้าเพราะจะทำให้เขามองว่าคุณไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ เพราะไม่สามารถเข้าใจในความรู้สึกของเขาที่มันแตกต่างจากคนอื่นและมองว่าปัญหาเขามันไม่สำคัญสำหรับอีกฝ่ายเลยแม้แต่น้อย ควรใช้คำพูดแทนว่า “ถ้าไม่ไหวก็ร้องไห้ออกมาเถอะ” 

“คิดมากไป” คำพูดต้องห้ามใช้สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า

“คิดมากไป” เป็นหนึ่งในคำพูดต้องห้ามใช้สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า เพราะจะทำให้เขาคิดว่าในสายตาของผู้รับฟัง ปัญหาของเรามันไม่มีความหมายอะไรเลยใช่หรือไม่? หากมันไม่มีความหมายจริงเราก็คงไม่มาซึมเศร้าทุกข์ทรมานอยู่กับมันจนควบคุมให้หายได้ยากแบบนี้หรอก แถมคำพูดนี้ยังแสดงให้คนเป็นโรคซึมเศร้าฟังและรู้ได้ชัดเจนว่าคุณมองว่าการที่เขาซึมเศร้ากับเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง “เรื่องไร้สาระ” เช่นนี้แล้วเขาจะยังกล้ามาพูดระบายให้คุณฟังได้อย่างไร คุณควรใช้คำพูดว่า “เดี๋ยวเราช่วยเธอหาทางแก้ไขเอง ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปนะ ไม่ต้องกลัว” แบบนี้จะช่วยให้เขาอุ่นใจได้มากเลย

รูปภาพประกอบ : Pixabay

#ไอเดียสุดเจ๋ง #เคล็ดลับต่างๆ #คนเป็นโรคซึมเศร้า